ปัจจัยในการพิจารณาเลือกเปรียบเทียบราคาประกันรถยนต์
เมื่อเราตอบตัวเองได้แล้วว่า เรามีความจำเป็น หรือความต้องการซื้อประกันชีวิตหรือไม่ และต้องการในรูปแบบไหน (คุ้มครอง หรือ การันตีเงินออม) รวมถึงเข้าใจลักษณะและความแตกต่างของประกันชีวิตแต่ละประเภทแล้ว สุดท้าย เราถึงมาเข้าสู่กระบวนการ “เลือก” แบบประกันแต่ละแบบของแต่ละบริษัท ว่าแบบไหนคุ้มค่าที่สุด (แต่คนส่วนใหญ่กลับเริ่มต้นด้วยการเลือกแบบประกันก่อนเลย ทั้งๆที่ยังไม่ได้สำรวจความต้องการหรือความจำเป็นของตัวเองเลยด้วยซ้ำ)
คำถามก็คือ แล้วเราจะเลือกโดยดูจากอะไรบ้างล่ะ?
อันที่จริง มีหลายปัจจัยมากในการที่เราจะเอามาพิจารณาในการเลือกซื้อแบบประกันซักแบบ ทั้งปัจจัยที่เป็นตัวเลข และไม่ใช่ตัวเลข เช่น ความมั่นคงของบริษัทประกัน(ดูจากตัวเลขงบการเงิน), ความคุ้มครองที่ได้รับ(ตัวไหนให้มากกว่า), ผลตอบแทนที่ได้(ตัวไหนสูงกว่า), เบี้ยที่ต้องจ่าย (ที่ไหนถูกกว่า), ระยะเวลาที่ต้องการการคุ้มครองหรือผลตอบแทน ไปจนถึงเรื่องที่วัดด้วยตัวเลขไม่ได้อย่าง ความรู้สึกที่มีต่อตัวแทน หรือทัศนคติที่มีต่อบริษัทประกันนั้นๆ เป็นต้น
ความคุ้มค่าในการคุ้มครอง
ซึ่งหากเราจะเอาปัจจัยทุกตัวมาพิจารณาพร้อมๆกัน ก็คงจะเลือกไม่ถูก (บางตัวอาจจะดี บางตัวอาจจะแย่ ตกลงเลยไม่แน่ใจว่ารวมๆแล้วมันดีหรือแย่) หรือไม่ก็ต้องมีสมการที่มีความซับซ้อนมากมาช่วยคำนวณ ถึงจะได้คำตอบ ดังนั้น เบื้องต้นที่ง่ายที่สุด(แต่ก็ยังซับซ้อนนิดๆอยู่ดี) คือเราจะพิจารณาจาก “ความคุ้มค่า” ของเบี้ยประกันที่จ่ายไป เทียบกับ “ความคุ้มครอง” ที่ได้รับ และ “ผลตอบแทน” ที่จะได้ ก็พอจะคัดเลือกประกันที่คุ้มค่าได้อยู่ระดับหนึ่ง
โดยความคุ้มค่า เมื่อเทียบกับความคุ้มครอง คือเราก็จะเปรียบเทียบว่า “หากจ่ายเบี้ยประกันเท่ากันแล้ว แบบประกันแบบไหนที่ให้ความคุ้มครองสูงกว่า ก็ถือว่าคุ้มค่ากว่า” วิธีคิดก็คือ เอาตัวเลขความคุ้มครอง(หรือที่เขียนไว้ว่าจำนวนเงินเอาประกันภัย หรือ ทุนประกัน นั่นแหละครับ) หารด้วย เบี้ยประกันที่ต้องจ่าย (ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับเพศและอายุ) แบบไหนที่ได้ตัวเลขสูงที่สุด ก็เป็นผู้ชนะไป (หรือในทางกลับกัน เราจะเอาเบี้ยประกันที่จ่าย หารด้วยความคุ้มครองที่ได้ เพื่อดูว่า ด้วยความคุ้มครองที่เท่ากัน แบบประกันแบบไหนที่จ่ายเบี้ยน้อยที่สุด ก็คุ้มค่ากว่า ก็ได้เหมือนกัน ซึ่งหากเรามี “ตารางเบี้ยประกันตามเพศและช่วงอายุ” ของแบบประกันนั้นๆ ก็จะใช้วิธีคิดแบบนี้ง่ายกว่า เพราะตารางจะกำหนดมาแล้วว่าเป็นค่าเบี้ยที่ต้องจ่าย ต่อทุนประกัน 1,000 บาท เราก็จับเอาค่าเบี้ยมาเทียบกันโดยตรงได้เลย ว่าแบบไหนที่เบี้ยน้อยกว่าก็คุ้มค่ากว่านั่นเอง)